หัวข้อ   “ ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6 เดือนข้างหน้า
นักเศรษฐศาสตร์ชี้เศรษฐกิจไทยได้เคลื่อนออกจากภาวะถดถอย และเข้าสู่ภาวะฟื้นตัวแล้ว
โดยปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัวที่สำคัญคือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน
และ การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ขณะที่ภาคส่งออกยังคงน่าเป็นห่วงที่สุด
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 33 แห่ง
จำนวน 69 คน เรื่อง “ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3-6
เดือนข้างหน้า”
โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 – 23 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                  ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
อยู่ที่ระดับ 23.13 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่อยู่ในระดับ 12.75 (เป็นระดับต่ำสุด
นับตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจ) แต่การที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ค่อนข้างมากสะท้อน
ให้เห็นถึงสถานะทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่ยังอ่อนแออยู่เป็นอย่างมากโดยเฉพาะ
ปัจจัยด้านการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มของดัชนี
ในการสำรวจครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในเศรษฐกิจขาลงรอบนี้ที่เริ่มต้นขึ้น
เมื่อเดือนมกราคม 2556
 
                  ด้านความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า ค่าดัชนีอยู่ที่
80.75 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมากและเป็นระดับที่สูงที่สุดนับจากมีการ
จัดทำดัชนีเมื่อเดือนกรกฎาคม 53 สะท้อนให้เห็นว่านักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่น
ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าว่าจะปรับดีขึ้นกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน
เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมา
อยู่ที่ 90.17 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับจากมีการจัดทำดัชนี
ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
 
                  เมื่อพิจารณาปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้าพบว่าทุกปัจจัยมีการปรับตัวที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
โดยเฉพาะการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่วนการบริโภคภาคเอกชน
และภาคการส่งออก จะขยายตัวค่อนข้างช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
 
                  ด้านความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นวัฏจักรเศรษฐกิจว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงใดของวัฏจักร
พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 44.9 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว (Recovery) รองลงมาร้อยละ 33.3 เห็นว่า
อยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Recession) และร้อยละ 11.6 เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำ (Trough) มีเพียงร้อยละ1.4
ที่เห็นว่าเศรษฐกิจอยู่ในช่วงรุ่งเรือง (Peak) เมื่อแบ่งวัฏจักรออกเป็น 2 ฟาก คือ ฟากเศรษฐกิจขยายตัวจนถึงจุดสูงสุด
(ร้อยละ 46.3) และ ฟากเศรษฐกิจถดถอยจนถึงจุดต่ำสุด(ร้อยละ 44.9) แล้วเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้าในเดือน
เมษายนที่ผ่านมาจะพบว่า เศรษฐกิจได้เคลื่อนออกจากภาวะถดถอยและเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ข้อมูลดังกล่าว
ย้ำให้เห็นว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทยได้ผ่านต่ำสุดไปแล้ว
 
                  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
  (1) เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังอยู่ในสถานะที่อ่อนแอเป็นอย่างมาก
  (2) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า
     โดยปัจจัยขับเคลื่อนการฟื้นตัวที่สำคัญคือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การลงทุน
      ภาคเอกชน และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ส่วนการบริโภคภาคเอกชน และภาค
      การส่งออก จะขยายตัวค่อนข้างช้ากว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ
  (3) เศรษฐกิจไทยได้เคลื่อนออกจากภาวะถดถอยและเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
            ภาพที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทย (จำแนกตามดัชนี)
 
 
 
             ตารางที่ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

ปัจจัยขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
2555
2556
2557
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภค
    ภาคเอกชน
50.00
59.23
68.97
68.10
21.31
17.80
11.02
6.72
24.26
2) การลงทุนภาค
    เอกชน
46.67
51.52
55.08
62.28
21.31
28.81
14.41
5.22
19.70
3) การใช้จ่ายและ
    การลงทุนภาครัฐ
51.69
46.21
61.40
59.82
43.33
45.61
16.38
6.62
27.21
4) การส่งออก
    สินค้า
23.77
11.36
24.58
19.49
13.11
13.56
15.25
23.88
19.12
5) การท่องเที่ยว
    จากต่างประเทศ
55.74
57.58
73.73
73.73
72.95
79.17
32.20
21.32
25.37
ดัชนีรวม
45.57
45.18
56.75
56.68
34.40
36.99
17.85
12.75
23.13
หมายเหตุ : ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย
  ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
  ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
  ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ใน
สถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 และ 6 เดือนข้างหน้าเทียบกับปัจจุบัน)
 
 
             ตารางที่ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 เดือนข้างหน้า
                            (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ปัจจัยขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจ
ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
2555
2556
2557
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภค
    ภาคเอกชน
57.63
50.78
61.61
50.00
30.83
45.00
35.96
42.31
79.85
2) การลงทุนภาค
    เอกชน
51.72
41.41
52.59
51.82
31.90
51.69
28.18
37.12
84.62
3) การใช้จ่ายและ
    การลงทุนภาครัฐ
70.34
57.38
66.36
67.59
49.14
64.66
25.00
31.62
82.84
4) การส่งออก
    สินค้า
42.37
30.16
55.36
34.82
32.50
55.08
66.10
65.38
74.62
5) การท่องเที่ยว
    จากต่างประเทศ
58.33
56.15
63.79
50.00
63.11
79.17
42.98
60.29
81.82
ดัชนีรวม
56.08
47.18
59.94
50.85
41.50
59.12
39.65
47.35
80.75
 
 
             ตารางที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นนักเศรษฐศาสตร์ต่อเศรษฐกิจไทยใน 6 เดือนข้างหน้า
                            (เปรียบเทียบกับปัจจุบัน)

ปัจจัยขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจ
ในอีก 6 เดือนข้างหน้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน
2555
2556
2557
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
ต.ค.
ม.ค.
เม.ย.
ก.ค.
1) การบริโภค
    ภาคเอกชน
55.21
49.11
61.76
50.00
50.00
61.21
53.70
64.84
90.30
2) การลงทุนภาค
    เอกชน
55.00
48.15
56.73
62.04
45.54
70.18
50.93
53.97
92.31
3) การใช้จ่ายและ
    การลงทุนภาครัฐ
61.82
60.83
70.41
81.13
60.71
79.09
40.74
48.48
93.75
4) การส่งออก
    สินค้า
44.23
37.50
64.15
47.92
47.27
67.80
77.68
76.15
83.59
5) การท่องเที่ยว
    จากต่างประเทศ
62.73
48.39
66.04
56.48
72.81
80.17
57.14
73.13
90.91
ดัชนีรวม
55.80
48.80
63.82
59.51
55.27
71.69
56.07
63.32
90.17
 
 
             ตารางที่ 4 ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน 3 - 6 เดือนข้างหน้า

 
3 เดือนข้างหน้า
6 เดือนข้างหน้า
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะดีขึ้น
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
การลงทุนภาคเอกชน
การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
การบริโภคภาคเอกชน
การส่งออกสินค้า
การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
การลงทุนภาคเอกชน
การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
การบริโภคภาคเอกชน
การส่งออกสินค้า
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะทรงตัว
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
-ไม่มี-
-ไม่มี-
ปัจจัยขับเคลื่อนที่เชื่อมั่นว่า
จะแย่ลง
เมื่อเที่ยบกับปัจจุบัน
-ไม่มี-
-ไม่มี-
 
 
             ตารางที่ 5 วัฏจักรเศรษฐกิจ

วัฏจักรเศรษฐกิจ
กรกฎาคม 56
ตุลาคม 56
มกราคม 57
เมษายน 57
กรกฎาคม 57
เศรษฐกิจขยายตัว (Expansion / Recovery)
13.0%
18.0%
10.0%
1.4%
44.9%
เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak)
8.0%
2.0%
2.0%
1.4%
1.4%
เศรษฐกิจถดถอย (Contraction / Recession)
63.0%
63.0%
67.0%
81.2%
33.3%
เศรษฐกิจตกต่ำ (Trough)
3.0%
5.0%
5.0%
7.2%
11.6%
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
13.0%
12.0%
16.0%
8.8%
8.8%
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก
3 และ 6 เดือนข้างหน้า รวมถึงวัฏจักรเศรษฐกิจ ให้กับประชาชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับทราบเพื่อนำไปใช้
ประกอบการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและธุรกิจต่อไป
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                  เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์
อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน
33 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์
พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย บริษัททิพยประกันชีวิต คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทร์วิโรฒ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  16 – 23 กรกฎาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 กรกฎาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
31
44.9
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
34.8
             สถาบันการศึกษา
14
20.3
รวม
69
100.0
เพศ:    
             ชาย
40
58.0
             หญิง
29
42.0
รวม
69
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.4
             26 – 35 ปี
14
20.3
             36 – 45 ปี
28
40.6
             46 ปีขึ้นไป
26
37.7
รวม
69
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.8
             ปริญญาโท
43
62.3
             ปริญญาเอก
22
31.9
รวม
69
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
9
13.1
             6 - 10 ปี
20
29.0
             11 - 15 ปี
13
18.8
             16 - 20 ปี
10
14.5
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
17
24.6
รวม
69
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776